กินเหล้าพร้อมกับกินยา อันตรายมาก


รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินเหล้าพร้อมกับกินยา อันตรายมาก

วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
หลายคนงดเหล้าในช่วงเข้าพรรษา นับว่าเป็นเรื่องดี และจะดีมากที่สุดหากงดเหล้า งดเบียร์ ได้ตลอดไป เพราะดีต่อสุขภาพ และดีต่อสังคมโดยรวม เนื่องจากลดอุบัติเหตุ ลดการทะเลาะวิวาท และลดการเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุได้อย่างมาก แล้วยังลดความเสี่ยงโรคมะเร็งบางประเภทได้อีกด้วย แต่แม้จะเข้าพรรษ ก็ยังคงพบว่ามีผู้คนส่วนหนึ่งยังดื่มเหล้าเบียร์ไวน์เป็นประจำ น้อยบ้างมากบ้างแล้วแต่โอกาส แต่วันนี้ขออนุญาตเตือนสำหรับคนมีโรคประจำตัว ที่จำเป็นต้องกินยาบางอย่างเป็นประจำ ต้องตระหนักถึงปัญหาการตีกันของยากับเหล้าเบียร์ไวน์ โดยทั่วไปคนส่วนมากรู้ดีว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ตับต้องทำงานหนัก เพื่อจัดการสารพิษจากการดื่ม จนอาจส่งผลให้ตับอักเสบ ถ้ายิ่งดื่มหนักและนานขึ้น เนื้อเยื่อตับจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจนทำงานไม่ได้หรือรู้จักในนามตับแข็ง แต่สำหรับคนที่ต้องใช้ยาที่มีผลต่อตับ เนื่องจากยาบางชนิด ตัวยาเองมีผลต่อตับอยู่แล้ว แต่ระหว่างใช้ยาก็ยังคงดื่มเหล้าเบียร์ไวน์อยู่ ก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงเกิดพิษต่อตับเพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่างที่ยามีผลหรือเป็นพิษต่อตับ เช่น ยาต้านวัณโรคชื่อ ไอโซไนอาซิด ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชื่อ อะมิโอดาโรน ยาลดไขมันกลุ่มสแตติน อีกชนิดหนึ่งที่คุ้นเคยและลืมไม่ได้คือยาลดไข้บรรเทาปวดพาราเซตามอล ....อ่านต่อ
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 Phaya Thai Road, Pathum Wan, Bangkok 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/