ยากับการเกิดไตเสื่อม


รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ยากับการเกิดไตเสื่อม

วันจันทร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.31 น.

 

    ทราบไหมว่าคนไทยจำนวนมากถึง 8 ล้านคน ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง หากไม่รักษาให้ถูกต้องทันกาล คนกลุ่มนี้จะกลายเป็นผู้ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ต้องพาตัวไปเข้าสู่กระบวนการล้างไตเพื่อกำจัดของเสีย เพราะไตไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเองอีกต่อไป เมื่อเป็นเช่นนั้นก็หมายความว่าเสี่ยงกับการเสียชีวิตมากยิ่งขึ้น

    คุณอาจจะเคยเห็นโฆษณาชิ้นหนึ่งที่บอกให้ลดการกินน้ำซุปสารพัดชนิดที่ปรุงอย่างเข้มข้น รสจัดจ้านมากโดยเฉพาะเค็มมากๆ ต้องบอกว่าเป็นโฆษณาที่คุณดูแล้วต้องทำตาม เพราะน้ำซุปที่มีปริมาณเกลือ หรือโซเดียมมากๆ ทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคไต

    แต่ในความจริงแล้ว สาเหตุสำคัญอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ไตเสื่อมก็เพราะการใช้ยา เนื่องจากยาหลายชนิดมีผลข้างเคียงต่อไต ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ที่พบบ่อยมากๆ คือกลุ่มยาบรรเทาปวด โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือ non-steroidal anti inflammatory drugs (NSAIDs) โดยปกติยากลุ่มนี้ใช้รักษาอาการอักเสบหรือบรรเทาปวดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ กระดูก ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากยกของหนัก หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และออกกำลังกายที่ผิดวิธี

    ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น ibuprofen, diclofenac, naproxen, piroxicam celecoxib etoricoxin เป็นต้น แม้ยากลุ่มนี้จะมีข้อดีคือ กินแล้วเห็นผลรวดเร็ว ความเจ็บปวดแบบสุดๆ จะถูกบรรเทาไปโดยเร็วหลังจากกินยานี้จึงทำให้ผู้ใช้ยาติดอกติดใจ แล้วใช้ยาทุกครั้งเมื่อมีอาการเจ็บปวด แม้เจ็บนิดเจ็บหน่อย ก็คว้ายามากิน เพราะต้องการให้หายเจ็บปวดโดยไว

    แต่ต้องบอกตรงๆ ว่ายากลุ่มนี้เป็นตัวการที่บุคลากรทางการแพทย์ ไม่สนับสนุนให้กินแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะนอกจากเมื่อกินแล้วเสี่ยงไตวายเฉียบพลัน ยังเสี่ยงอีกหลายอย่าง เช่น การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร บางคนถึงขั้นกระเพาะทะลุ แล้วหากกินมากเกินไปก็เสี่ยงเป็นมะเร็งที่ไตด้วย

    ย้ำว่า การใช้ยากลุ่มนี้ ต้องใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น และใช้ในเวลาที่สั้นที่สุด หากจำเป็นต้องใช้ในระยะยาว ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุต้องระวังการใช้ยากลุ่ม NSAIDs มากเป็นพิเศษ เพราะจะเกิดอาการข้างเคียงได้เร็ว และมากกว่าคนที่อายุยังน้อย

    แต่ถึงแม้ NSAIDs จะเป็นกลุ่มยาเสี่ยงสูงที่ควรเลี่ยงแต่ก็มียาบางกลุ่มที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางโรคต้องกินต่อเนื่องดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้จึงต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์และเภสัชกรอย่างใกล้ชิด

    เมื่อคุณได้ยินว่าการกินยานานๆ อาจทำให้ไตเสียหายได้ขอบอกว่าความคิดนี้เป็นจริงสำหรับยาบางชนิด แต่ไม่เป็นจริงในยาบางชนิด ดังนั้นการที่คุณอาจต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ก็อาจจะเกิดความกังวลว่า ตกลงกินยาต่อเนื่องนานๆ จะเกิดผลเสียต่อไตหรือไม่ บางคนเลยไม่กินยาให้สม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนด แต่ก็ต้องบอกอีกว่า การไม่กินยาให้สม่ำเสมอ ก็ทำให้เกิดภาวะไตวายได้เช่นกันเช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้การกรองของเสียลดลง และในระยะยาวก็จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้ นอกจากนี้ความดันโลหิตสูงก็ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ด้วย

    ดังนั้นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ถ้าไม่กินยาสม่ำเสมอ จะคุมความดันไม่ได้ หรือในกรณีผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาล หากไม่กินยาให้สม่ำเสมอ ก็จะมีผลเสียทำให้ไตเสื่อมได้ในเวลาต่อมา

    พบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่กลัวการทานยามากๆ เพราะคิดว่าจะทำให้ไตวาย จึงไม่กินยาให้ตรงตามที่แพทย์กำหนดสุดท้ายก็ไม่สามารถควบคุมโรคที่เป็นอยู่ได้ เมื่อคุมความดันไม่ได้ และคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ก็ทำให้เกิดภาวะไตวายได้

    ทุกคนรู้ว่าไตเป็นอวัยวะสำคัญมาก ดังนั้นต้องลดความเค็มในอาหารและเครื่องดื่ม และต้องระมัดระวังการใช้ยาด้วย ต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่งหรือตามคำแนะนำของเภสัชกรอย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพที่ดีของเราเอง

ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ และ รศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 Phaya Thai Road, Pathum Wan, Bangkok 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/