รู้จักโรคซึมเศร้า รู้วิธีรับมือ


รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : รู้จักโรคซึมเศร้า รู้วิธีรับมือ

วันจันทร์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565, 06.25 น.
ปัจจุบันโรคซึมเศร้าหรือ depression น่าจะเป็นที่คุ้นเคยของประชาชนทั่วไป เนื่องจากมีข่าวการสูญเสียบุคคลที่เป็นที่รู้จักจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้านี้เนืองๆ แต่ที่จริงโรคนี้มีความซับซ้อนกว่าที่คนทั่วไปเข้าใจอยู่ไม่น้อย ผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องมีแต่อาการเศร้าสร้อยดำดิ่งคิดถึงการสิ้นสุดชีวิตตนเองเท่านั้น แต่มีอาการอื่นด้วย เช่น ระยะแรกเริ่มของโรคซึมเศร้าอาจจะแค่หมดความสนใจต่อสิ่งที่เคยเพลิดเพลินมาก่อน ซึ่งถ้าหากเจ้าตัวรู้ตัวช้าหรือคนรอบข้างสังเกตเห็นช้า ปล่อยให้ภาวะดังกล่าวรุนแรงมากขึ้น การจัดการก็จะยากขึ้น ดังนั้นการรู้จักโรคและวิธีรักษาให้ดีขึ้น น่าจะทำให้เราสามารถจัดการกับภาวะซึมเศร้าได้ดีขึ้น โรคซึมเศร้าที่จริงแบ่งแยกย่อยได้อีกหลายแบบการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมบางอย่างเช่นจู่ๆก็ลุกขึ้นมาจับจ่ายใช้สอยอย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยไม่มีเหตุมีผล ก็เป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในโรคซึมเศร้าแบบอารมณ์ 2 ขั้ว หรือที่สังคมรู้จักในนามโรค bipolar แต่การวินิจฉัยไม่ได้ง่ายขนาดที่เราจะไปชี้นิ้วว่าคนที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายนั้น เป็นโรคซึมเศร้าแน่ๆ เพราะการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยคนใดคนหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้าต้องทำโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และที่สำคัญ เราไม่ควรเอาชื่อโรคหรืออาการต่างๆ ไปใช้ล้อเลียนคนอื่น เพราะยิ่งจะทำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการรักษา เพราะความอับอาย ทั้งที่การเจ็บป่วยแบบนี้สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และเมื่อเป็นแล้วก็รักษาให้หาย หรืออาการดีขึ้นได้ โดยไม่ต่างจากโรคอื่นๆ ......อ่านต่อ

ผศ.ภญ.ดร.ณัฎฐดา อารีเปี่ยม

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 Phaya Thai Road, Pathum Wan, Bangkok 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/