รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาปฏิชีวนะผิด (วิธี) ชีวิตเสี่ยง


รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาปฏิชีวนะผิด (วิธี) ชีวิตเสี่ยง

วันจันทร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
อาทิตย์ก่อน เราคุยกันเรื่องความเข้าใจผิดจากการใช้ยาผิดประเภท โดยเฉพาะกลุ่มยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ รวมถึงปัญหาดื้อยาเพราะใช้ยาผิดประเภท อีกทั้งใช้ยาพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น วันนี้เราจะคุยถึงปัญหาอื่นๆ ที่มาจากการใช้ยาผิดวิธี จนเป็นสาเหตุให้เกิดการดื้อยา กลายเป็นปัญหาใหญ่ทำให้เราต้องใช้ยาแรงขึ้นจนบางครั้งเป็นเหตุให้เสียชีวิต เนื่องจากไม่มียารักษา ต้องขอย้ำว่าหลายครั้งผู้ป่วยเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคเรื้อรัง มะเร็ง หรืออุบัติเหตุ แต่สุดท้ายอาจไม่ได้เสียชีวิตเพราะโรคเหล่านั้น แต่กลับเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งไร้ยารักษา เนื่องจากเชื้อดื้อยา การรับประทานยาปฏิชีวนะต้องเคร่งครัดตามแพทย์และเภสัชกรแนะนำ โดยปกติจะรับประทานยาเป็นคอร์ส เช่น 3, 5 หรือ 7 วัน หรือเป็นเดือน ขึ้นกับอาการของโรค ประเภทของเชื้อ อวัยวะที่เกิดโรค และยาที่ใช้ เช่น ยาที่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5 วัน ได้ถูกออกแบบและศึกษาแล้วว่าเมื่อใช้ครบ 5 วัน เป็นเวลาที่เหมาะสมกับการกำจัดเชื้อได้ราบคาบ แต่ยาบางชนิด อาทิ การกำจัดเชื้อวัณโรค ต้องใช้ยาหลายตัวช่วยกำจัดเชื้อ และต้องใช้ยาเป็นเวลานาน อาจต้องใช้ยาเป็นปี เนื่องจากความยากของการฆ่าเชื้อโรคกลุ่มนี้  .......อ่านต่อ
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 Phaya Thai Road, Pathum Wan, Bangkok 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/