วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ


รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ

วันจันทร์ ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.

    หนึ่งในแผนสุขภาพที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดโรคตั้งแต่แรก ซึ่งเราสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เมื่อพูดถึงวัคซีน เรามักจะนึกถึงกลุ่มเด็กเล็กเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่จริงแล้วแต่ละช่วงวัยก็มีความจำเป็นในการป้องกันการเกิดโรคที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยที่ สภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอย นำไปสู่การมีภูมิต้านทานต่ำลง รวมถึงคนที่มีโรคประจำตัว ซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่

    วันนี้ขอพูดถึงวัคซีนที่แนะนำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำควรพิจารณาเพื่อป้องกันโรค วัคซีนตัวแรกคือวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ถึงแม้ว่าไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ไม่รุนแรงในคนปกติ แต่เมื่อคนสูงวัย หรือคนที่มีภูมิต้านทานบกพร่องติดโรคไข้หวัดใหญ่ อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาลหรือถึงกับต้องเข้าไอซียู และอาจทำให้เสียชีวิต ดังนั้นในทุกๆ ปีคนกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำ

    เนื่องจากสายพันธุ์ของไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ ปี โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก็คือช่วงกลางปี ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมเนื่องจากเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรค ที่สำคัญคือวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีให้บริการฟรีตามสิทธิ์บริการสุขภาพ เช่น สิทธิ์บัตรทอง เป็นต้น

    วัคซีนตัวที่สองที่แนะนำให้ผู้สูงอายุฉีด เป็นวัคซีนที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินหายใจ ก็คือวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบนิวโมคอคคัส ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัส (Streptococcal Pneumoniae) โดยปกติแล้วการติดเชื้อชนิดนี้ในวัยผู้ใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง แต่ในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป การติดเชื้อนี้ทำให้ปอด ตลอดจนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เชื้อในกระแสเลือดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    ข่าวดีสำหรับวัคซีนชนิดนี้คือไม่ต้องฉีดทุกหนึ่งปี แต่ฉีดห้าปีต่อครั้ง สิ่งนี้สำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอด เช่น ถุงลมโป่งพอง เป็นต้น

    วัคซีนชนิดที่ 3 ที่แนะนำให้ผู้สูงอายุพิจารณาฉีดได้แก่วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด โรคงูสวัดเกิดจากไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เป็นไข้อีสุกอีใส ใครก็ตามที่เคยเป็นโรคไข้สุกใสจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคงูสวัดในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่มีภูมิต้านทานต่ำลงก็จะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เมื่อเป็นโรคงูสวัดแล้ว สิ่งที่น่ากลัวคืออาการปวดตามเส้นประสาท ซึ่งมีอาการทุกข์ทรมานยาวนานได้เป็นปี ทำให้ต้องใช้ยาบรรเทาปวดหลายชนิด อีกทั้งยังรบกวนคุณภาพชีวิตโดยตรงของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เราสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ได้ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดเพียงหนึ่งเข็มเท่านั้น

    ย้ำว่า การจัดการความเจ็บป่วยที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยตั้งแต่แรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของคนที่มีภูมิต้านทานที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ผู้สูงอายุ

    โชคดีที่ปัจจุบันเรามีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันโรคได้ดี ผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคทั้ง 3 ชนิดข้างต้นเพราะอย่างน้อยถ้าเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว ก็จะไม่ป่วยไม่รุนแรง

    ระยะนี้เริ่มเข้าหน้าฝน (แต่ยังไม่รู้ว่าฝนจะมาวันไหน) ก็ควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้แล้ว

ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ และ รศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 Phaya Thai Road, Pathum Wan, Bangkok 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/