ใช้ยาอย่างไรจึงเข้าข่าย ‘ฟุ่มเฟือย’


รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาอย่างไรจึงเข้าข่าย ‘ฟุ่มเฟือย’

วันจันทร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 06.00 น.
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว เมื่ออายุมากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หัวใจหลอดเลือด และอื่นๆ อีกมากมาย ยิ่งอายุยืนยาวมากขึ้นจำนวนโรคประจำตัวก็เพิ่มขึ้น สิ่งที่เพิ่มตามมาก็คือ รายการยาที่ต้องใช้ในแต่ละวันนั่นเอง และหากจำนวนรายการยาท่ี่ผู้ป่วยแต่ละคนต้องใช้มากกว่า 5-7 ชนิดขึ้นไป จะเข้าข่ายที่เรียกว่า polypharmacy หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า การใช้ยาฟุ่มเฟือยนั่นเอง
แล้วการใช้ยาหลายรายการนี้เป็นปัญหาอย่างไร ในเมื่อคนป่วยก็ไปพบแพทย์ แพทย์วินิจฉัยโรคและสั่งจ่ายยาเพื่อรักษาโรคที่วินิจฉัยได้ เพราะยาไม่ใช่สิ่งที่คนส่วนใหญ่จะเลือกหามาใช้ด้วยตัวเองสักหน่อย แถมคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยากจะกินยาให้เป็นภาระตับไตอยู่แล้ว ประเด็นก็คือ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่ได้พบแพทย์เพียงคนเดียว เป็นความดันโลหิตสูงก็ไปพบแพทย์ท่านหนึ่ง ต่อมาเป็นโรคกระดูกก็ไปพบแพทย์อีกท่านหนึ่ง สมมุติแพทย์ 1 คนสั่งยาเพียง 3 รายการ การพบแพทย์ 2 คนก็ทำให้ได้รับยาถึง 6 รายการ ไม่รวมยาสามัญประจำบ้านบางรายการที่ซื้อใช้เอง เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้แพ้ หรือบางคนรักสุขภาพมาก กินวิตามินหรืออาหารเสริมบำรุงสุขภาพเพิ่มเข้าไปอีก จึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่าผลการสำรวจในประเทศเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาพบความชุกของการใช้ยามากกว่า 5 รายการของผู้สูงอายุในชุมชนสูงถึงร้อยละ 29-36.8หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือ ประมาณทุก 3 จาก 10 คน ของผู้สูงอายุกำลังใช้ยามากกว่า 5 รายการนั่นเอง ....อ่านต่อ
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 Phaya Thai Road, Pathum Wan, Bangkok 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/