รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : โมลนูพิราเวียร์ พลิกเกมวิกฤตโควิด-19 จริงหรือ


รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : โมลนูพิราเวียร์ พลิกเกมวิกฤตโควิด-19 จริงหรือ

วันจันทร์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.  โดย ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในระยะ 1-2 สัปดาห์มานี้ หลายต่อหลายคนอาทิ หมอ และนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งบนโลกใบนี้ต่างพูดถึงยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ด้วยความหวังที่แสนบรรเจิด เพราะเชื่อว่าจะเข้ามาเป็นตัวเปลี่ยนเกม พลิกสถานการณ์โควิด-19 ของโลกได้ ก่อนอื่นต้องบอกว่ายาตัวใหม่นี้เป็นของบริษัทเมอร์ค เริ่มแรกนั้นโมลนูพิราเวียร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ แต่เมื่อมีสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด จึงนำมาศึกษาทดลองกับผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อให้ไปจัดการกับไวรัส SARS-CoV-2 โมลนูพิราเวียร์เป็นแคปซูล ใช้รับประทานเพื่อให้ออกฤทธิ์ต้านไวรัส โดยทำให้กระบวนการสร้างสายพันธุกรรมของไวรัสเกิดความผิดพลาดไปจากเดิม แล้วส่งผลไปยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส จากผลการทดลองทางคลินิกระยะที่สาม ในเบื้องต้น พบว่าถ้าให้โมลนูพิราเวียร์กับผู้เริ่มมีอาการป่วยไม่เกิน 5 วัน จะสามารถช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยขั้นรุนแรง และลดอัตราการตายได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับยาหลอก (placebo)
 
    นอกจากนี้บริษัทยังเริ่มทำการทดลองใช้โมลนูพิราเวียร์เพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่มีประวัติอาศัยอยู่กับผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งก็คาดกันว่าการทดลองนี้น่าจะได้ผลดีตามที่บริษัทตั้งใจไว้ เพราะฉะนั้น ยาตัวนี้จึงกลายเป็นความหวังของคนจำนวนไม่น้อยขึ้นมาโดยพลัน แต่อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งการทดลองของบริษัท ซึ่งให้โมลนูพิราเวียร์กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนักมากและรักษาตัวในโรงพยาบาล กลับพบว่ายานี้แทบจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ทางคลินิกกับผู้ป่วยเลย จึงทำให้ในที่สุด บริษัทจึงหยุดการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ดังนั้นจะเห็นว่า ยาโมลนูพิราเวียร์จะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนัก แล้วต้องได้รับยาเร็ว ซึ่งช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้ แต่ขอย้ำว่าไม่ 100% อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ความท้าทายของแต่ละประเทศที่ต้องการโมลนูพิราเวียร์ เพราะจะต้องคาดการณ์ปริมาณการจัดหาเพื่อสำรองยาตัวนี้ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ของโรคจริงให้มากที่สุด รวมถึงต้องเตรียมงบประมาณ และให้ความสำคัญกับการเข้าถึงยาของผู้ป่วย เนื่องจากความใหม่สดของยานี้ จึงทำให้ยาน่าจะเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลกมากมายมหาศาล "  ขอย้ำว่า การกระจายยาไปถึงผู้ป่วยให้เร็วเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะประสิทธิภาพของการรักษาจะดีที่สุด ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับยาเร็วที่สุด  " นอกจากโมลนูพิราเวียร์แล้ว บริษัทไฟเซอร์ก็ยังได้ศึกษาวิจัยยาชนิดรับประทานเพื่อรักษาโรคโควิด-19 อีกตัวหนึ่ง ซึ่งคาดกันว่าไม่น่าจะเกินสิ้นปีนี้ ก็น่าจะยื่นขออนุมัติการใช้ยาอีกหนึ่งตัว ซึ่งก็ต้องบอกว่างานวิจัยเพื่อการรักษาโรคโควิด-19 ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในบริษัทผลิตยาที่มีทุนการวิจัยสูงมากๆพูดกันจริงๆ แล้ว เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียนั้น เรามียารักษาอยู่มากมายหลายชนิด แต่ทว่าเรื่องที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันมิให้เกิดโรค และไม่ปล่อยให้มีใครต้องเจ็บป่วยเพราะโรคนั้นๆดังนั้นการปกป้องจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในกระบวนการรักษาโรค สำหรับมนุษย์นั้น เราจะเห็นว่าตั้งแต่เกิดมาเราก็ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อหลายๆ โรค เช่น คอตีบ บาดทะยักไอกรน ปอดอักเสบ งูสวัด การติดเชื้อ HPV เป็นต้น อย่างกรณีโควิด-19 นั้น ถ้าเราติดเชื้อและมีอาการเจ็บป่วย ถึงแม้เราจะรักษาจนหายแล้ว แต่เราก็ไม่รู้ว่าโควิด-19 จะทิ้งร่องรอยการเจ็บป่วยไว้กับระบบใดของร่างกายของเราในระยะยาวบ้าง ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ เพราะอย่างน้อยก็ช่วยป้องกันการเกิดอาการรุนแรงได้ดีที่สุดอย่างหนึ่ง คนส่วนมากไม่อยากเจ็บป่วยแล้วถูกส่งตัวไปรักษาเมื่อมีอาการหนักเราจึงเลือกป้องกันความเจ็บป่วยมากกว่าการรักษา ดังนั้น game changer หรือผู้พลิกเกมตัวจริงของโรคโควิด-19 ก็ยังน่าจะเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ลดอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคได้ ส่วนยาที่ใช้รักษาโรคที่ชื่อโมลนูพิราเวียร์ น่าจะเสมือนผู้เล่นตัวสำรองที่เรามีไว้เพื่อ back up ในกรณีที่ผู้เล่นตัวจริงบาดเจ็บลงสนามไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขอให้คุณๆ ทุกคนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ร่วมกับการรักษาระยะห่าง และการรักษาสุขอนามัยเถอะครับ เพราะในยามนี้ถือว่าเป็นตัวป้องกันการติดเชื้อ และการเสียชีวิตหลังการติดเชื้อที่เชื่อถือได้มากที่สุด
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 Phaya Thai Road, Pathum Wan, Bangkok 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/