รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : บูสเตอร์โดส ฉีดช่วงไหนดีที่สุด คำถามที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


วันนี้เรามาคุยเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มที่ 3 หรือ บูสเตอร์โดสกันครับ แต่หลายคนอาจเคืองว่า อะไรคือเข็มที่ 3 เข็มแรกยังไม่ได้เลย แต่ก็ต้องขอบอกว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจ เพราะวันหนึ่งคุณก็ต้องได้รับวัคซีนนี้ เพียงแต่อาจจะช้าหรือเร็วเท่านั้น เพราะฉะนั้นเรามาทำความเข้าใจกับมันก่อนดีไหมครับ

บูสเตอร์โดสคือวัคซีนเข็มที่เราได้รับต่อเนื่องหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้วสองเข็ม (หรือหนึ่งเข็มในบางชนิดเช่น จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน) เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งประสิทธิภาพหรือภูมิคุ้มกันจากวัคซีนก็จะลดลงไปตามเวลา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับเข็มที่ 3 ซึ่งทั้งหมดนี้มาจากการศึกษาวิจัยของผู้ผลิตวัคซีน เพื่อให้ผู้รับเข็มที่สามมีภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 มากในระดับที่ทำให้ชีวิตปลอดภัย เพราะร่างกายมีภูมิในระดับที่เพียงพอต่อสู้กับไวรัส

แต่ต้องบอกว่า เรื่องโควิด-19 นั้น เป็นเรื่องใหม่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยา เรื่องวัคซีน หรือเรื่องตัวเชื้อโรค ดังนั้นการพูดแบบฟันธงในเรื่องนี้จึงทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะยังมีข้อมูลไม่สมบูรณ์เพียงพอ แต่วันนี้เราจะพูดในขอบเขตของข้อมูลที่มี ณ ปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งหากในอนาคตมีข้อมูลเพิ่มเติมก็ต้องติดตามเรื่องกันต่อไปอย่างใกล้ชิดเพื่อความมั่นใจของทุกฝ่าย

สิ่งที่เป็นคำถามใหญ่ ณ ขณะนี้คือ เมื่อไรจึงจะเหมาะสมกับการได้รับเข็มที่สาม เพราะวัคซีนแต่ละชนิด เช่น ชนิดเชื้อตาย ชนิดสารพันธุกรรมดีเอ็นเอที่ใช้ไวรัสเป็นตัวนําส่ง (Recombinant viral vector vaccine) เช่น วัคซีนของบริษัท แอสตราเซเนกา วัคซีนชนิดสารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ หรือวัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine) ต่างมีประสิทธิภาพของการสร้างภูมิคุ้มกันไม่เหมือนกัน ระยะเวลาที่ต้องฉีดเข็มที่สามก็ต่างกัน ซึ่งทั้งหมดจะต้องอาศัยผลการศึกษาจากผู้ผลิต และผู้ทำวิจัย เพื่อให้สามารถสร้างความมั่นใจ และความปลอดภัยสูงสุดกับผู้รับวัคซีน

ทั้งนี้หากได้รับเข็มที่สามเร็วเกินไปก็อาจเกิดผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกัน หรือระบบเม็ดเลือดขาว เพราะในวัคซีนบางตัวมีสารกระตุ้นให้เกิดการแพ้ ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นนี้ ผู้วิจัยต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าเมื่อฉีดแล้วจะได้รับประโยชน์หรือเสี่ยงจะเกิดโทษมากกว่ากัน แต่ก็ต้องคำนึงว่าหากภูมิคุ้มกันลดลงมากๆ จนกระทั่งป้องกันเชื้อโรคอีกไม่ได้ก็จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องกระตุ้นเพื่อสร้างภูมิอีกครั้ง

อิสราเอลเป็นประเทศแรกที่ฉีดบูสเตอร์โดสให้ประชาชน โดยคนกลุ่มแรกที่ได้รับคือผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งได้รับวัคซีนเข็มที่สองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน โดยใช้วัคซีน mRNA เป็นหลัก ส่วนสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ US FDA ได้อนุมัติให้มีการใช้บูสเตอร์โดสของวัคซีน Pfizer-BioNTech หลังได้รับวัคซีนเข็มที่สองแล้ว 6 เดือน ในผู้มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป รวมถึงช่วงอายุอื่นๆ ที่มีโรคประจำตัวที่อาจทำให้เกิดความรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ รวมถึงอาชีพที่เสี่ยงติดเชื้อและแพร่ต่อให้กับคนอื่นได้เช่น บุคลากรด่านหน้า คนทำหรือขายอาหาร รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของอุปโภคบริโภค เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ผลิต Pfizer-BioNTech ยื่นข้อเสนอนี้แก่ทางองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป หรือ European Medicines Agency (EMA) เช่นกัน

ในเอเชีย ประเทศสิงคโปร์ใช้วัคซีน mRNA เป็นหลัก และเริ่มให้บูสเตอร์โดสกับคนสองกลุ่ม คือผู้ที่อายุเกิน 60 ปี และอีกกลุ่มคือผู้มีภาวะตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันไม่ปกติ ทั้งนี้รัฐบาลสิงคโปร์เห็นว่าระยะเวลาการให้บูสเตอร์โดส คือช่วงหลังจากได้รับวัคซีน mRNA เข็มสองแล้ว 6-9 เดือนนี่คือตัวอย่างของประเทศที่ใช้ mRNA เป็นหลัก

สำหรับในกลุ่มประเทศที่ใช้วัคซีนเชื้อตาย เช่น Sinovac เช่น ไทย ส่วนฮ่องกงใช้ทั้ง mRNA และชนิดเชื้อตาย ดังนั้นจึงตัดสินใจทดลองให้บูสเตอร์โดสกับกลุ่มที่ Sinovac โดยเข็มที่สาม จะมีทั้งคนที่ได้รับ Sinovac และบางคนจะได้รับ Pfizer-BioNTech แล้วกำลังอยู่ในช่วงศึกษาวิจัยล่าสุดว่าจะตัดสินใจอย่างไรในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับความจริงว่าปัจจุบันประชากรโลกจำนวนมากยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่ง องค์การอนามัยโลกจึงมองว่าอาจยังไม่จำเป็นต้อง ให้บูสเตอร์โดสในยามนี้ แต่ควรต้องให้คนทุกคนได้รับวัคซีนเข็มแรกให้ครบก่อน ซึ่งแนวคิดนี้ก็ได้รับการสนับสนุนค่อนข้างมาก แม้กระทั่งในไทยเองก็ตาม คนไทยจำนวนไม่น้อยก็ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่ง ปัจจุบันมีการให้บูสเตอร์โดสสำหรับบุคลากรการแพทย์ด่านหน้า ซึ่งได้รับSinovac 2 เข็ม และยังมีการพูดถึงบูสเตอร์โดสให้ประชาชนทั่วไปที่ได้รับ Sinovac และ Sinopharm และบางคนก็ได้รับAstraZenaca ซึ่งก็ต้องมาพิจารณากันต่อไปอีกครั้ง และยังต้องศึกษาระยะห่างของการฉีดบูสเตอร์โดสด้วย ซึ่งการตัดสินใจเรื่องนี้ต้องมาจากข้อมูลการวิจัยที่แน่ชัดก่อน ซึ่งก็ต้องติดตามข้อมูลจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกไปพร้อมๆ กับการศึกษาวิจัยในประเทศไทย

แต่สิ่งที่จะทิ้งท้ายไว้สำหรับวันนี้คือ ขอให้ทุกคนได้รับวัคซีนให้ครบสองเข็มก่อนเป็นอันดับแรก และขอย้ำว่าวัคซีนฉีดเพื่อกันตาย ไม่ได้ฉีดเพื่อกันการติดเชื้อ เพราะฉะนั้นเมื่อฉีดไปแล้ว ก็ต้องการ์ดไม่ตก

ที่มา: https://www.naewna.com/lady/606300
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 Phaya Thai Road, Pathum Wan, Bangkok 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/