การรักษากรดไหลย้อนโดยการปรับพฤติกรรม


รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : การรักษากรดไหลย้อนโดยการปรับพฤติกรรม

วันจันทร์ ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.

    หนึ่งในกลุ่มยาที่หลายคนไปซื้อจากร้านขายยาค่อนข้างบ่อย คือ ยาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ยาลดกรด ยาบรรเทาอาการปวดท้อง ยาขับลม ยาช่วยย่อย การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น โดยใช้นานๆ ครั้ง อาจไม่เป็นปัญหา แต่เมื่อใช้ยาบ่อยมาก ใช้ติดต่อเป็นเวลานาน จำเป็นต้องพิจารณาสาเหตุที่แท้จริงที่ต้องใช้ยาเหล่านี้ โดยเฉพาะยาแก้อาการกรดไหลย้อน

    กรดไหลย้อน เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในคนไทย

    กรดไหลย้อนเกิดมาจากภาวะเกิดจากการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น แสบร้อนบริเวณหน้าอก อาการเรอเปรี้ยว หรือขมในปาก ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก จุก รู้สึกเหมือนมีก้อนติดอยู่ในคอ เจ็บคอเรื้อรัง ไอแห้ง และเสียงแหบ เป็นต้น

    ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการเกิดกรดไหลย้อน และปัจจัยที่ทำให้กรดไหลย้อนแย่ลง มีหลายประการ เช่น การรับประทานอาหารในช่วงดึกแล้วนอนทันที ซึ่งทำให้เพิ่มความดันในช่องท้อง ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหารได้ง่าย

    การบริโภคอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น เช่น ฟาสต์ฟู้ดจำพวก แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด และพิซซา รวมถึงอาหารผัดหรือทอด ที่มีไขมันสูง ย่อยยาก ทำให้กระบวนการย่อยอาหารช้าลง เพิ่มความดันในช่องท้อง นอกจากนี้ การดื่มชากาแฟมากๆ ยังทำให้กล้ามเนื้อหูรูด ระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารอ่อนตัวลง ทำให้กรดไหลย้อนเกิดได้ง่าย

    ความเครียดก็ส่งผลกระทบต่อทางเดินอาหาร และกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนสูงขึ้น

    น้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน ขาดการออกกำลังกายก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เพิ่มโอกาสการเกิดกรดไหลย้อนเนื่องจากน้ำหนักที่เกินทำให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้นในขณะที่การออกกำลังกายสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ ส่วนการสูบบุหรี่ และรับประทานยาบางชนิด เช่นยาในกลุ่ม NSAID ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง

    การวินิจฉัยอาการกรดไหลย้อน โดยมากใช้การซักประวัติแล้วรักษา แต่ในกรณีที่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือกลับมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น กลืนไม่สะดวก เจ็บเวลากลืน อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระสีดำ อาจใช้การส่องกล้องทางเดินอาหาร หรือตรวจการบีบตัวของทางเดินอาหารเพิ่มเติม

    วิธีการรักษากรดไหลย้อนหลักๆ คือ ใช้ยาควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมที่ต้องเปลี่ยนก่อนเป็นอันดับแรก คือการกินการนอน โดยก่อนถึงเวลานอน 3 ชั่วโมง ต้องไม่กินอาหารหนักๆ เช่น ถ้าเรานอนประมาณ 4 ทุ่ม เวลาสายที่สุดที่จะกินมื้อเย็น หรืออาหารจุกจิกกินเล่น คือไม่เกิน 1 ทุ่มนั่นเอง นอกจากเรื่องของเวลาแล้ว ชนิดและรสชาติของอาหารก็สำคัญ อาหารที่ควรจำกัดคืออาหารประเภทไขมันสูง อาหารรสเผ็ดจัด เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนหากมีน้ำหนักเกินก็ต้องลดน้ำหนัก

    ยากลุ่มหลักที่ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน คือยาช่วยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และยาช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร เพื่อช่วยเร่งการเคลื่อนที่ของอาหารและกรดในกระเพาะอาหาร

    ยากลุ่มช่วยลดการหลั่งกรดที่ใช้มากในปัจจุบัน คือยาซึ่งประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการหลั่งกรด และให้ผลการรักษาที่ดีเช่น

    การรักษาด้วยยาในกลุ่มนี้ จะได้ผลดี ก็ต้องรับประทานยาได้ถูกต้อง คือต้องรับประทานยาก่อนอาหารประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ห้ามบด เคี้ยว หรือละลายยา เนื่องจากยา PPI ทำมาในลักษณะพิเศษ คือเคลือบยาเพื่อป้องกันตัวยาสำคัญไม่ให้ถูกทำลายในทางเดินอาหาร

    การรักษาด้วยยา PPI นั้นใช้เวลารักษา โดยบางรายอาจใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน จึงจะเห็นผลชัดเจน ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามลดขนาดยา หรือหยุดยาด้วยตัวเอง และต้องไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับขนาดการใช้ยา ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้ต้องเข้าใจว่า อาการอาจไม่ดีขึ้นในทันที และจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์

    แต่เมื่อหายจากโรคนี้แล้ว ก็ยังมีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเป็นอยู่ และการกินให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดอาการอีก

รศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ และรศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/