กรดไหลย้อน กับการใช้ยารักษา


รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กรดไหลย้อน กับการใช้ยารักษา

วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.

    ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนที่กล่าวถึงโรคกรดไหลย้อนว่าเป็นโรคมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมของผู้เป็นโรคดังนั้นการปรับพฤติกรรมคือกุญแจสำคัญของการรักษา

    อย่างไรก็ตาม ระหว่างปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็ต้องใช้ยาร่วมด้วย ยาหลักๆ ที่ใช้เมื่อมีอาการกรดไหลย้อนคือยาลดกรด ยากระตุ้นการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ท้องอืด ยาช่วยย่อย ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

    ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยาข้อควรระวังการใช้ยา เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิผลสูงสุด ทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคและกลับไปมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด ทั้งในระหว่างและหลังการรักษา

    การรักษาโรคกรดไหลย้อนต้องเริ่มต้นดัวยการกำจัดกรดที่เกินความจำเป็น โดยให้ยาลดกรด ยาช่วยลดกรดมีสองกลุ่มหลัก กลุ่มแรกคือ ยามีฤทธิ์เป็นด่าง ช่วยลดความเป็นกรด กับยากลุ่มที่สองคือ ยายับยั้งการผลิต หรือหลั่งกรด ทำให้กรดที่จะหลั่งออกมาในกระเพาะลดปริมาณลง ในบางกรณีของการรักษาอาจจำเป็นต้องใช้ทั้งสองกลุ่ม

    ยาลดกรดชนิดที่ทำหน้าที่สะเทินกรดในกระเพาะอาหารที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยคือ ยาเม็ดเคี้ยวก่อนกลืน หรือยาน้ำที่ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ ยากลุ่มนี้มักรับประทานหลังอาหาร ซึ่งเป็นเวลาที่มีกรดในกระเพาะมากที่สุด ส่วนใหญ่จะรับประทานเฉพาะเวลามีอาการเป็นครั้งคราว ข้อดีคือยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ดูดซึมเข้ากระแสเลือดน้อยมาก แต่มีข้อควรระวังการใช้ในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยที่การทำงานของไตบกพร่องรุนแรง  หากจะใช้ยานี้ต้องได้รับคำแนะนำโดยแพทย์หรือเภสัชกรก่อน นอกจากนั้น ยานี้ค่อนข้างปลอดภัยในคนทั่วไป นอกจากอาการข้างเคียงที่อาจทำให้ท้องผูก หรือท้องเสียได้บ้าง แต่ไม่มีอันตรายร้ายแรงที่น่ากังวล

    ส่วนยาออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรด ปัจจุบันมีเป็นที่นิยมใช้กันมาก ยากลุ่มนี้ในประเทศไทย ได้แก่ ยาในกลุ่ม ที่มีการเคลือบตัวยาพิเศษ เพื่อให้ยาไปแตกตัวที่บริเวณลำไส้ แล้วดูดซึมสู่กระแสเลือด แล้วจึงไปออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรด ข้อแนะนำโดยทั่วไปของการใช้ยาในกลุ่มนี้คือ ต้องกินก่อนอาหาร ห้ามกินพร้อมนมหรือยาลดกรด เพราะจะทำให้ยาแตกตัวก่อนถึงลำไส้ และถูกกรดในกระเพาะอาหารทำลาย ที่สำคัญคือห้ามเคี้ยว หรือบดเม็ดยา เพราะจะทำลายคุณสมบัติที่ทำไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ยาสลายตัว ในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถกลืนยาทั้งเม็ดได้ ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงวิธีใช้ยา เพื่อให้แน่ใจว่าจะให้ยา หรือใช้ยาอย่างไร เช่น ละลายน้ำ หรือกระจายตัวในน้ำ เพื่อช่วยให้คนไข้สามารถกินยาได้

    ส่วนยาอื่นที่คนไข้กรดไหลย้อนอาจจำเป็นต้องใช้ในบางครั้ง เช่น ยากระตุ้นการบีบตัวทางเดินอาหาร ซึ่งโดยทั่วไปสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจ เพราะจะมีอาการไม่พึงประสงค์สำคัญคือ ยาสามารถทำให้เกิดภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติได้ ดังนั้น ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากลุ่มนี้

    โดยสรุป ยาหลักที่ใช้ในการรักษากรดไหลย้อนจะมีสองกลุ่มคือยาลดกรด และยาออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรด ทั้งนี้อาจให้ยาร่วมกับยาลดกรดชนิดสะเทินกรด หรือยากระตุ้นการบีบตัวทางเดินอาหาร การใช้ยาเหล่านี้มีข้อควรปฏิบัติ ข้อควรระวัง และข้อห้ามหลายประการ เมื่อรับยาจากเภสัชกรแล้วต้องศึกษารายละเอียดการใช้ให้ละเอียดก่อน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา ขอย้ำว่า อย่าลืมว่านอกจากใช้ยารักษาแล้ว การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิตประจำวัน ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลรักษาให้โรคนี้ด้วย

รศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ และรศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/