FAQ เกี่ยวกับการเข้าเรียน


 

Q : เปิดรับสมัครนิสิตระดับปริญญาตรี ปีการศึกษาละกี่คน

A : เปิดรับ 2 สาขา คือ สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ และสาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาละ 100 คนค่ะ

 

Q : จำเป็นต้องจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา สายวิทย์-คณิตเท่านั้นหรือไม่

A : ปีการศึกษา 2565 นี้เป็นปีแรกที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นสายวิทย์ค่ะ

      ไม่มีการกำหนดหน่วยกิตวิชา    วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

 

Q : ในการศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จำเป็นต้องมีความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน มากน้อยแค่ไหน

A : ปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา

      โดยเมื่อเข้าศึกษาแล้วจะมีการต่อยอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ในเชิงทางการแพทย์มากขึ้น

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ

Q : ระยะเวลาการปิดภาคการศึกษา ในแต่ละปีการศึกษาของคณะเภสัชศาสตร์ เป็นอย่างไรบ้าง

A : การเปิด – ปิดภาคการศึกษาเป็นไปตามปฏิทินการศึกษาของจุฬาฯ

      โดยเข้าถึงได้จาก https://www.reg.chula.ac.th/calendar.html

      ทั่วไปการปิดภาคการศึกษาต้นจะกำหนดระหว่างกลางเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม

              ส่วนการปิดภาคการศึกษาปลายจะกำหนดระหว่างปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม เว้นแต่จุฬาฯจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

      นิสิตชั้นปีที่1 และ 2 มีช่วงปิดเทอมระหว่างภาคต้นและภาคปลาย และมีช่วงปิดเทอมภาคฟดูร้อนตามปกติ

      นิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 ต้องฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน

      นิสิตในชั้นปีที่ 5 ขึ้นชั้นปีที่ 6 นิสิตต้องฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพตลอดทั้งปี

 

Q : อายุเป็นข้อจำกัดในการศึกษาเล่าเรียนในคณะเภสัชศาสตร์หรือไม่

A : ที่ผ่านมามีนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาอื่นมาศึกษาต่อในคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      อย่างต่อเนื่อง และสามารถสำเร็จการศึกษาเภสชัศาสตร์บัณฑิตได้ตามกำหนดเวลาและ

      ไม่มีปัญหาในการเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับเพื่อนและอาจารย์

 

Q : หลักสูตรของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอย่างไรบ้าง

A :หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

     หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ

 

Q : รายละเอียดเกี่ยวกับการปริญญาตรีควบโท ของหลักสูตรคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

A : อยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตรข้ามศาสตร์ข้ามระดับระหว่าง

     1) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)

          ควบกับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวอุตสาหการ

    2) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) /สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ

         (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) ควบกับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

 

Q : รูปแบบการสอบวัดผลภายในคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

A : ในสถานการณ์ของโรคระบาด ทางคณะเภสัชศาสตร์ได้มีรูปแบบการประเมินผลหลากหลาย เช่น

       การสอบในรูปแบบออนไลน์ผ่าน platform ต่าง ๆ การมอบหมายงาน การทำรายงานทั้งเดี่ยวหรือกลุ่ม

       หรือการทำข้อสอบนอกห้องสอบ (Take-home Examination) หรือการวัดและประเมินผลแบบออนไลน์ในรูปแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

 

Q : รูปแบบการเรียน-การสอน ของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

A : การบรรยายและปฏิบัติการ โดยมุ่งเน้นการใช้การเทคโนโลยีการศึกษาและกิจกรรมเสริมในห้องเรียน

      เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

      นอกจากนี้ยังได้เชิญวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานกับนิสิตอย่างสมำเสมอ

 

Q : สัดส่วนคะแนนที่ใช้ หรือโครงการที่เปิดรับสมัคร ในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

A : ติดตามได้จากประกาศฝ่ายทะเบียน

 

Q : หากต้องการยื่นรอบ Portfolio สามารถใช้คะแนนสอบอะไรยื่นได้บ้าง และสามารถยื่นโครงการอะไรได้บ้าง

A : การยื่นคะแนนสอบ TCAS รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่มีหนังสือรับรองการสอบผ่าน

      การอบรมตามหลักสูตรของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์

      สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนคริทร์ (สอวน.) ค่าย 2 และได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนศูนย์ สอวน.

      ไปแข่งขันโอลิมปิกระดับชาติในสาขาวิชาสาขาชีววิทยาหรือสาขาเคมี

 

Q : หลังจากจบการศึกษาแล้ว สามารถประกอบอาชีพข้ามสายงานได้หรือไม่

A : ทำข้ามสายงานได้ (ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมไม่ได้ระบุสาขา

       แต่การสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

       ขั้นตอนที่ 2 การสอบตามเกณฑ์สมรรถนะเฉพาะสาขา ขึ้นอยู่กับรายวิชาเรียนและการฝึกงานที่ตรงกับเฉพาะสาขานั้นๆ

       อ้างอิง ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม  https://www.pharmacycouncil.org

 

Q : มีการส่งนิสิตไปเสริมสร้างประสบการณ์ที่ต่างประเทศหรือไม่

A : การสร้างเสริมประสบการณ์ในต่างประเทศมีทั้งรูปแบบโครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้น ระยะเวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์

      และการฝึกปฏิบัติงานระยะเวลา 1-3 เดือน ทั้งนี้ขึ้นกับความสนใจของนิสิตในสถานการณ์

      โดยที่ผ่านมาได้มีการแลกเปลียนนิสิตในหลากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน เป็นต้น

 

Q : มีการฝึกงานกี่ครั้ง ระยะเวลาเท่าไหร่

A : การฝึกงานทุกสาขาเป็นดังนี้

            นิสิตชั้นปีที่ 3 ฝึกงานภาคฤดูร้อนเป็นเวลา 160 ชั่วโมง

            นิสิตชั้นปีที่ 4 ฝึกงานภาคฤดูร้อนเป็นเวลา 200 ชั่วโมง

            นิสิตชั้นปีที่ 5 เริ่มฝึกงานตั้งแต่ภาคฤดูร้อนและตลอดปีการศึกษาของชั้นปีที่ 6 เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1600 ชั่วโมง

 

Q : มีทุนการศึกษาให้กับผู้ที่มีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายหรือไม่

A : คณะมีทุนการศึกษาสนับสนุน โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพ่ิมได้ที่ฝ่ายกิจการนิสิต

 

Q : อัตราค่าเล่าเรียนของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

A : ตามอัตราการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียน พ.ศ.2562 คณะเภสัชศาสตร์จัดเป็นคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

      (2) โดยเข้าถึงได้จาก https://www.reg.chula.ac.th/NewStudyFee_2563.pdf เว้นแต่จะมีการประกาศเป็นอย่างอื่นเพิ่มเติม

 

Q : กฎระเบียบของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

A : ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศจุฬาฯ เข้าถึงจาก https://www.reg.chula.ac.th/cuannounced.html

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึก

Leave Comment

 
 
Contact : 254 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
02-218-8257
Email: info@pharm.chula.ac.th
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับยา สุขภาพหรือนวัตกรรมของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ Line official @guruya หรือเว็บไซต์ https://www.pharm.chula.ac.th/guruya/